learnxinyminutes-docs/th/pascal.md
2024-12-28 03:50:35 -08:00

233 lines
16 KiB
Markdown

---
contributors:
- ["Ganesha Danu", "http://github.com/blinfoldking"]
- ["Keith Miyake", "https://github.com/kaymmm"]
translators:
- ["Worajedt Sitthidumrong", "https://bitbucket.org/wrj"]
---
> Pascal (ปาสกาล) เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งทั้งแบบ imperative และ procedural ที่ออกแบบโดย Niklaus Wirth (นิเคล้า เวิร์ท) เมื่อปี 1968-69 และเผยแพร่ตอน 1970 โดยเน้นให้เป็นภาษาที่เล็ก มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมการเขียนโปรแกรมที่มีแนวปฏิบัติที่ดีด้วยการใช้โครงสร้างของตัวภาษา และโครงสร้างข้อมูลมากำกับ ชื่อของภาษานี้ตั้งเป็นเกียรติให้กับนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส, นักปรัชญา และนักฟิสิกส์ ชื่อ Blaise Pascal (เบลส ปาสกาล) ข้อมูลจาก : [วิกิพีเดีย][1]
การคอมไพล์และรันโค้ดภาษาปาสกาลนี้ สามารถใช้ปาสกาลคอมไพลเลอร์ฟรีชื่อ Free Pascal ได้ โดย [ดาวน์โหลดที่นี่][2]
ด้านล่างจะเป็นโครงสร้างภาษาหลัก ๆ ที่ต้องเข้าใจก่อน ปาสกาลจะเป็นภาษาที่เข้มงวดกับโครงสร้างโค้ดมาก
```pascal
//โปรแกรมปาสกาล
//คอมเม้นต์เขียนแบบนี้ ใช้สแลชสองครั้ง
{
แต่ถ้าต้องการคอมเม้นหลาย ๆ บรรทัด
ให้ใช้ วงเล็บปีกกา (curly brackets)
เนื้อหาอยู่บรรทัดเดียวกันกับปีกกาได้
}
//อย่างแรก ต้องประกาศ ชื่อโปรแกรม
program learn_pascal; //<-- ห้ามลืม semicolon
const
{
ประกาศค่าคงที่ (constant) ในบล็อคนี้
}
type
{
ประกาศชนิดข้อมูลของเราเองที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น ชนิดข้อมูลทั่วไป
หรือจะเป็นคลาส
}
var
{
ตัวแปร ในภาษาปาสกาล ไม่เหมือนกับภาษาอื่น ๆ
เพราะต้องประกาศในบล็อค var ก่อนใช้งานเสมอ
}
//มาถึงส่วนโปรแกรมหลัก หรือ main fucntion นั่นเอง
begin
{
โค้ดเราทำงานอะไร อย่างไร ก็เริ่มรันจากตรงนี้
}
end. // จบการทำงานของ _โปรแกรม_ เราจะจบด้วย จุลภาค "."
```
โค้ดต่อจากนี้ จะเป็นการอธิบายประกาศตัวแปรของปาสกาล
```pascal
//การประกาศตัวแปร ทำได้แบบนี้
//var ชื่อตัวแปร : ชนิด ;
var a:integer;
var b:integer;
//หรือแบบที่นิยมมากกว่า คือเอามาเก็บในบล็อค var ทั้งหมด
var
a : integer;
b : integer;
//ถ้าจะเอาแบบสั้น ๆ บรรทัดเดียว ก็ทำได้ ทำได้พร้อมกันหลาย ๆ ตัวแปรด้วย
var a,b : integer;
```
โค้ดตัวอย่างนี้เป็นโปรแกรม Learn\_More ที่เป็นโครงสร้างโปรแกรมง่าย ๆ ที่จบสมบูรณ์หนึ่งโปรแกรม มีบล็อค program, const, type, main (Begin..End.)
```pascal
program Learn_More;
// มาต่อเรื่อง ชนิดของข้อมูล (data types) และ ตัวดำเนินการ (operators)
const
PI = 3.141592654;
GNU = 'GNU''s Not Unix';
// ค่าคงที่ ให้ตั้งชื่อเป็น ตัวพิมพ์ใหญ่ ทั้งหมด ใช้กับชนิดข้อมูลใดๆ ก็ได้
// ค่าคงที่ ก็ตามชื่อเลย กำหนดค่าแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขณะรัน
// การประกาศชนิดข้อมูลของเราเอง
// "ชนิด" ของตัวแปรสองแบบนี้ จะนำไปใช้ด้านล่าง
type
ch_array : array [0..255] of char;
// อะเรย์ เป็นชนิดข้อมูลที่มี ความยาว/ช่องเก็บข้อมูล และ ชนิดข้อมูล
// โค้ดด้านบน เป็นการประกาศอะเรย์ของตัวอักษา 255 ตัวอักษา
// ซึ่งได้ ความยาว/ช่องเก็บข้อมูลในตัวแปรตัวนี้ 256 ช่องที่เป็นข้อความ
md_array : array of array of integer;
// ด้านบนนี้ เป็นตัวอย่าง อะเรย์สองมิติของเลขจำนวนเต็ม
// อะเรย์ ยังซ้อนกับอะเรย์ได้อีกด้วย ทำให้สร้าง อะเรย์หลายมิติได้
// เรายังสามารถสร้าง อะเรย์ที่มีความยาวช่องเท่ากับศูนย์ (0) ได้อีกด้วย
// ซึ่งทำให้เกิด อะเรย์ที่จำนวนช่องยืดหยุ่นได้ (dymaically sized array)
// การประกาศตัวแปร : ชื่อตัวแปรเหล่านี้จะนำไปใช้ด้านล่างต่อไป
var
int, c, d : integer;
// ประกาศในบล็อค var มีตัวแปรสามตัวเป็นอินทีเจอร์
// ชนิดจำนวนเต็ม แบบ 16 bit มีช่วงข้อมูล [-32,768.. 32,767]
// »int« ในที่นี้เป็น "ชื่อตัวแปร" ที่ต้นฉบับตั้งให้สอดคล้องกับชนิดข้อมูล
// อย่าสับสนกับบางภาษาที่มีชนิด int ประกาศหน้าชื่อตัวแปร
r : real;
// ตัวแปร r เป็นชนิดเรียล (real) หรือเลขทศนิยม
// real มีช่วงข้อมูล [3.4E-38..3.4E38]
bool : boolean;
// ข้อมูลชนิดบูเลียน (boolean) มีค่าได้สองแบบ คือ True/False
ch : char;
// ตัวแปร ch เป็นชนิดตัวอักษร (ชาร์? คาร์?) หรือคาแรกเตอร์
// ตัวอักษรเป็นแบบ ASCII 8 bit ดังนั้นจะไม่ใช่ UTF, Unicode
str : string;
// ตัวแปรสตริงจะเก็บข้อความ หรือ char หลาย ๆ ตัว
// ชนิดข้อมูลนี้ไม่เป็นมาตรฐานภาษาแต่คอมไพเลอร์ปาสกาลก็มักจะมีให้
// ทั่ว ๆ ไปแล้ว จะเป็นอะเรย์ของ char ความยาวตั้งต้น 255
s : string[50];
// แบบนี้คือ กำหนดความยาว string เอง ให้เก็บ char 50 ตัว
// แบบนี้ก็ทำให้ประหยัดหน่วยความจำมากขึ้นนั่นเอง
my_str: ch_array;
// ชนิดตัวแปร ใช้เป็นชนิดที่เรากำหนดเองก็ได้ อย่างตอนนี้
// ch_array เป็น "ชนิดข้อมูล" ที่เราสร้างขึ้นมาในบล็อค type
my_2d : md_array;
// ตัวแปรแบบอะเรย์ที่ไม่ประกาศขนาด (dynamically sized array)
// ก่อนเอาไปใช้จริงต้องระบุขนาดก่อนใช้เสมอ
// ชนิดข้อมูลแบบ integer เพิ่มเติม
b : byte; // มีช่วงข้อมูล [0..255]
shi : shortint; // มีช่วงข้อมูล [-128..127]
smi : smallint; // มีช่วงข้อมูล [-32,768..32,767] (standard Integer)
w : word; // มีช่วงข้อมูล [0..65,535]
li : longint; // มีช่วงข้อมูล [-2,147,483,648..2,147,483,647]
lw : longword; // มีช่วงข้อมูล [0..4,294,967,295]
c : cardinal; // ก็คือ longword
i64 : int64; // มีช่วงข้อมูล
// [-9223372036854775808..9223372036854775807]
qw : qword; // มีช่วงข้อมูล [0..18,446,744,073,709,551,615]
// ชนิดข้อมูลแบบ real เพิ่มเติม
rr : real; // มีช่วงข้อมูลที่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการ
// (เช่นเป็นแบบ 8-bit, 16-bit, ฯลฯ)
rs : single; // มีช่วงข้อมูล [1.5E-45..3.4E38]
rd : double; // มีช่วงข้อมูล [5.0E-324 .. 1.7E308]
re : extended; // มีช่วงข้อมูล [1.9E-4932..1.1E4932]
rc : comp; // มีช่วงข้อมูล [-2E64+1 .. 2E63-1]
Begin
// การกำหนดค่าตัวแปรให้ขณะประกาศ
int := 1;
r := 3.14;
ch := 'a'; // ใช้ single quote เหมือนกันทั้ง char และ string
str := 'apple';
bool := true;
// ภาษาปาสกาล มอง "ชื่อเฉพาะ" แบบไม่สนพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็ก
// (case-insensitive language)
// ตัวดำเนินการแบบคณิตศาสตร์ (arithmethic operation)
int := 1 + 1; // int = 2 ซึ่งจะกำหนดทับค่าเดิมด้านบนที่เคยประกาศ
int := int + 1; // int = 2 + 1 = 3 นำค่าตอนนี้ (2) มา +1 ได้ 3
int := 4 div 2; // int = 2 หารด้วย div จะได้ผลเป็น integer เสมอ
int := 3 div 2; // int = 1
int := 1 div 2; // int = 0
bool := true or false; // bool = true
bool := false and true; // bool = false
bool := true xor true; // bool = false
r := 3 / 2; // หารด้วย / จะได้ผลเป็น real เสมอ
r := int; // เรากำหนดค่า integer ให้ตัวแปร real ได้
// แต่ทำกลับกัน โดยกำหนด real ให้ integer ไม่ได้
c := str[1]; // กำหนดค่าแรกใน array str ให้ตัวแปร c ที่เป็น char
str := 'hello' + 'world'; // เรารวม string เข้าด้วยกันด้วย +
my_str[0] := 'a'; // กำหนดค่าให้ string เฉพาะตำแหน่งแบบอะเรย์ทั่วไป
setlength(my_2d,10,10); // ปรับขนาดอะเรย์ 2 มิติให้เป็นขนาด 10x10
// โดยตัวแปร my_2d นี้สร้างแล้วด้านบน
for c := 0 to 9 do // อะเรย์เริ่มจาก 0 และจบที่ ความยาว-1
for d := 0 to 9 do // ตัวนับ (counter) จำเป็นต้องประกาศก่อนใช้
my_2d[c,d] := c * d;
// กำหนดอะเรย์หลายมิติ ด้วยการใช้วงเล็บก้ามปู (square brackets)
End.
// จบโปรแกรมบริบูรณ์ ด้วย "."
```
ด้านล่าง เป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรมปาสกาลชื่อ Functional\_Programming
```pascal
program Functional_Programming;
Var
i, dummy : integer;
function factorial_recursion(const a: integer) : integer;
{ ทำการคำนวณแฟคทอเรียลซ้ำ ๆ ของเลขจำนวนเต็ม โดยผ่านพารามิเตอร์ a
ถ้าจะประกาศตัวแปรโลคอลในฟังก์ชั่น ก็ทำได้ โดยการใช้บล็อค var ภายในฟังก์ชั่น
เช่น :
var
local_a : integer;
}
Begin
If a >= 1 Then
{ ฟังก์ชั่นนี้คืนค่ากลับ โดยการกำหนดค่าที่ผ่านทางพารามิเตอร์ a
นำมาคูณกับฟังก์ชั่นที่ผ่าน a-1 สุดท้ายก็กำหนดค่าลงไปให้กับฟังก์ชั่นตรงๆ }
factorial_recursion := a * factorial_recursion(a-1)
Else
factorial_recursion := 1;
End; // จบ ฟังก์ชั่น ด้วย ";" หลัง End ไม่เหมือนกับจบ โปรแกรม ที่จะใช้ "."
procedure get_integer(var i : integer; dummy : integer);
{ เรารับ input จากผู้ใช้มาเก็บใน parameter i ที่เป็น integer ที่ตั้งขึ้นใน
พารามิเตอร์ โดยใช้ var ประกาศ ทำให้ค่าที่รับเข้ามาจะเปลี่ยนปรับได้จาก
ภายนอกการประกาศพารามิเตอร์นี้ ส่วน dummy เป็นตัวแปรที่ปรับเปลี่ยนได้
"เฉพาะจากภายในฟังก์ชั่น,โพรซีเยอร์นั้น ๆ }
Begin
write('Enter an integer: ');
readln(i);
dummy := 4; // dummy จะไม่ทำให้ค่าที่ได้รับมาครั้งแรกใน main block เปลี่ยน
End;
//--------------------//
// main program block
//--------------------//
Begin
dummy := 3;
get_integer(i, dummy);
writeln(i, '! = ', factorial_recursion(i));
// พิมพ์ค่า i!
writeln('dummy = ', dummy); // จะให้ค่าเป็น '3' เสมอ
// เพราะจะไม่เปลี่ยนเนื่องด้วย
// การประกาศพารามิเตอร์ใน
// โพรซีเยอร์ get_integer ด้านบน
End.
```
[1]: https://en.wikipedia.org/wiki/Pascal_(programming_language)
[2]: https://www.freepascal.org/